ระบบโครงกระดูก
( The Skeletal System )
ประกอบด้วย
-
กระดูกอ่อน (Catilage)
-
กระดูก ( Bone)
-
เอ็นยึดกระดูก (
Ligament )
-
ข้อต่อ ( Joint )
ทำหน้าที่
-
เป็นโครงรักษารูปร่างร่างกาย
-
อื่นๆ เช่น
โครงสร้างส่วนแข็งแรง ให้เราคงรูปร่างอยู่ได้, ยึดกล้ามเนื้อให้เกิดการเคลื่อนไหว, แหล่งสะสมแร่ธาตุพวกแคลเซียม,
แหล่งสร้างเม็ดเลือด, ปกป้องอวัยวะสำคัญ, ได้ยินเสียงได้
ชนิดของกระดูก
1.
จำแนกตามลักษณะเนื้อกระดูกที่มองเห็น
-
กระดูกพรุน (Spongy bone/ Cancellous bone) : โปร่งและพรุน คล้ายฟองน้ำ พบส่วนลึกต่อจากผิวกระดูก
-
กระดูกแข็ง (Compact bone/ Dense bone) : เนื้อแน่นทึบ มองไม่เห็นช่องว่างด้วยตาเปล่า พบตามผิวกระดูกต่างๆ
2.
จำแนกตามรูปร่าง
-
กระดูกยาว (Long bone) : มี 90 ชิ้น รูปยาว เป็นกระดูกพรุนปกคลุมด้วยกระดูกแข็ง
แต่ตรงกลางเป็นกระดูกแข็ง เรียก Diaphysis และมีช่องว่างบรรจุไขกระดูก
(Bone marrow) เช่น กระดูกแขน ขา
-
กระดูกสั้น (Short bone) : มี 30 ชิ้น มีความกว้างและยาวใกล้เคียงกัน เป็นก้อนๆ
เช่น กระดูกข้อมือ ข้อเท้า
-
กระดูกรูปแบน (Flat bone) : มี 38 ชิ้น รูปร่างแบน เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะ
กระดูกซี่โครง กระดูกสะบัก
-
กระดูกรูปแปลก (Irregular bone) : มี 46 ชิ้น รูปร่างไม่แน่นอน คล้ายกระดูกสั้น เช่น
กระดูกสันหลัง กระดูกขมับ
-
กระดูกที่เกิดจากเอ็นของกล้ามเนื้อ
(Sesamoid bone) : มี 2 ชิ้น คล้ายเม็ดงา ได้แก่ กระดูกสะบ้า
3.
จำแนกตามตำแหน่งที่อยู่ในร่างกาย
-
กระดูกแกนกลาง /
กระดูกลำตัว (Axial skeleton) มี 80 ชิ้น
-
กระดูกรยางค์ (Appendicular / Extremities skeleton) มีรยางค์บน 64 ชิ้น ระยางค์ล่าง 62
ชิ้น
หมายเหตุ : เมื่อเติบโตขึ้น
กระดูกหลายชิ้นจะต่อรวมเป็นแป้นชิ้นใหญ่
การเกิดกระดูก
1.
Intramembranous
ossification
-
เกิดจากmembraneของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เปลี่ยนเป็นกระดูก
-
ได้แก่
พวกกระดูกแบน กระดูกสั้น กระดูกยาวบางชิ้น
2.
Endochondral
osification / Intracartilaginous ossification
-
มี 2 ขั้นตอน
o การพองตัว และการสลายตัวของกระดูกอ่อน : เกิดช่องขึ้น
o เซลล์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนเป็นเซลล์ที่จะสร้าง
Maxtrix หุ้ม จากนั้น
จะมีหลอดเลือดต่างๆแทรกเข้ามาและพัฒนาจนเป็นกระดูกในที่สุด
การหักและซ่อมแซมของกระดูก (Fracture
and repair of bone)
เมื่อกระดูกหัก เส้นเลือดจะเกิดการฉีก ทำให้เลือดไหลออกมาและแข็งตัว
จนอุดตันบริเวญนั้น ทำให้เซลล์กระดูกตาย
แต่เมื่อนำก้อนเลือดนี้ออก
จะเกิดการสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่ โดยเริ่มจากกระดูกอ่อนก่อนและสร้างกระดูกแบบ Intramembranous ตามมา ซึ่งระหว่างนี้
จะต้องห้ามเคลื่อนที่ จึงจำเป็นต้องเข้าเฝือก
เยื่อหุ้มกระดูก แบ่งเป็น 2 ชิ้น
1.
เยื่อหุ้มกระดูกชั้นนอก
(Periosteum) : เป็น Membrane บางๆ แต่ไม่หุ้มหัวท้ายของกระดูกยาว
ซึ่งมีกระดูกอ่อนหุ้มอยู่
2.
เยื่อกระดูกอ่อนชั้นใน
(Endosteum) : เป็น Membrane บางละเอียด อยู่ในโพรงหรือช่องกลางกระดูก
หน้าที่ของเยื่อหุ้มกระดูก
-
นำเลือดไปเลี้ยงกระดูก
-
เกิดกระดูกใหม่ได้
เพราะมีเซลล์ในการสร้างกระดูก
-
ป้องกันเซลล์กระดูกที่เกิดใหม่ไม่ให้หลุดออก
-
ทำให้กล้ามเนื้อยึดติดกับกระดูกได้
ไขกระดูก (Bone marrow)
เป็นช่องว่างภายในกระดูก เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือด มี 2 ชนิด
1.
ไขกระดูกแดง (Red Bone marrow) : Active formที่จะสร้างเม็ดเลือดแดง
2.
ไขกระดูกเหลือง (Yellow Bone marrow) : Inactive form
เริ่มสร้างเม็ดเลือดแดงประมาณช่วงกลางของเด็ก
จนถึงวัยรุ่น จากนั้นไขกระดูกแดงจะถูกแทนที่โดย Fat
cell เป็นไขกระดูกเหลือง แต่ไขกระดูกเหลืองก็เปลี่ยนกลับเป็น Active
form ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น