วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สารบัญ


สารบัญ

3.กระดูกรยางค์


ผู้จัดทำ
1.นายเกริกพล แดนสีแก้ว เลขที่ 2
2.นางสาวปพิชญา รงค์เดชประธีป เลขที่ 4
3.นางสาวมาริสา เตชะสนธิชัย เลขที่ 5
4. นางสาวสุชัญญา สิทธิ เลขที่ 7
5.นัทธพงศ์ โพธิผลิ เลขที่ 13
6.นางสาวจิดาภา จิตชาญวิชัย เลขที่23
ม.6/5

กระดูกรยางค์

กระดูกแขน

1. กระดูกหัวไหล่ (Shoulder girdle) ประกอบด้วยกระดูก 4 ชิ้น ติดต่อกันเป็นวงเกือบรอบ ได้แก่


1.1 กระดูกสะบัก (Scapula) มี 2 ชิ้น เป็นกระดูกแบนใหญ่ รูปสามเหลี่ยม ตั้งอยู่เบื้องหลังตอนบนของทรวงอกระหว่างกระดูกซี่โครงคู่ที่ 27 พื้นหน้าคือ พื้นที่ติดกับกระดูกซี่โครง มีรอยเว้าเป็นแอ่ง เรียก Subscapular fossa ส่วนพื7นหลังนูนออก แบ่งเป็น 2 ส่วน โดยสันของกระดูกสะบักที่ทอดขวางอยู่ส่วนบนเหนือสันนี้เป็นแอ่งตื้นๆ เรียก Supraspinous fossa แต่ส่วนล่างใต้สันกว้างกว่า เรียก Infraspinous fossa ปลายบนของสัน (Spine) ยื.นออกมาทางมุมบนหัวไหล่ มีลักษณะเป็นแง่ เรียก Acromion process สําหรับติดต่อกับปลายนอกของกระดูกไหปล้า ใต้ Acromion process มีแอ่งเว้า เรียก Glenoid cavity ซึ่งให้หัวของกระดูกต้นแขนสวมอยู่ ริมบนใกล้กับ Glenoid cavity มีแง่แหลมยื่นออกไปข้างหน้า เรียก Coracoid process เป็นที่สําหรับให้หัวของกล้ามเนื7อแขนยึดเกาะ


                1.2 กระดูกไหปลาร้า (Clavicles or Collar bone) เป็นกระดูกยาวโค้ง มี 2 ชิ้น อยู่ด้านหน้าส่วนบนของทรวงอกเหนือระดับกระดูกซี่โครงอันที่ 1 ปลายข้างหนึ่งต่อกับกระดูกหน้าอกปลายอีกข้างหนึ่งต่อกับกระดูกสะบัก ในผู้หญิงกระดูกไหปลาร้าจะสั้นและมีส่วนโค้งน้อยกว่าในผู้ชาย


2. กระดูกแขน (Bones of the arm) ประกอบด้วยกระดูกข้างละ 30 ชิ้น ได้แก่

                2.1 กระดูกต้นแขน (Humerus) มี 2 ชิ7น เป็นกระดูกยาว ปลายบนกลมใหญ่ เรียก Head สวมอยู่ใน Glenoid cavity ของกระดูกสะบัก ส่วนปลายล่างแบน กว้าง มี 2 ปุ่ม คือปุ่มนอกและ ปุ่มใน สําหรับให้กล้ามเนื้อปลายแขนเกาะ ใต้ปุ่มนอกจะมีรอยติดต่อกับหัวกระดูกปลายแขนอันนอก (Radius) และใต้ปุ่มทั้ง 2 นี้มีลักษณะคล้ายหลอดด้าย ซึ่งเป็นส่วนติดต่อกับกระดูกปลายแขนอันใน (Ulna) กระดูกทั้ง 3 ชิ้นจะประกอบกันเป็นข้อศอก (Elbow)

                2.2 กระดูกปลายแขนอันใน (Ulna) มี 2 ชิ้น เป็นกระดูกยาว อยู่ด้านนิ้วก้อย ยาวกว่ากระดูกปลายแขนอันนอก (Radius) ปลายมี 2 แง่ แง่ใหญ่เป็นข้อศอก ยื่นขึ้นไปข้างบนทางด้านหลังเรียก Olecranon process และจะไปติดต่อเป็นข้อต่อกับกระดูกต้นแขน แง่เล็กข้างหลัง เรียก Coronoid process ตอนกลางของกระดูกเป็นรูปสามเหลี่ยม มี 3 ริม ปลายล่างจะเล็กมี 2 ปุ่ม ปุ่มกลมใหญ่ติดต่อกับกระดูก Radius ปุ่มเล็ก เรียก Styloid process ปุมนี้ไม่ต่อกับกระดูกข้อมือ

                2.3 กระดูกปลายแขนอันนอก (Radius) มี 2 ชิ้น เป็นกระดูกยาว สั้นและเล็กกว่ากระดูกปลายแขนอันใน (Ulna) ปลายบนเล็กกลม มีรอยต่อหวําสําหรับติดกับกระดูกต้นแขน ตอนกลางมีรูปทรงเกือบจะสามเหลี่ยม ข้างบนเล็กข้างล่างโต ปลายล่างใหญ่กว่าปลายบนมาก มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมติดกับกระดูกข้อมือ ที่ปลายล่างมีแง่เล็กๆยื่นลงไปข้างล่าง เรียก Styloid process

2.4 กระดูกข้อมือ (Capus) เป็นกระดูกสั้น มีข้างละ 8 ชิ้น เรียง 2 แถว แถวละ 4 ชิ้น กระดูกแต่ละชิ้นมีชื่อเรียกต่างๆกันและมี Ligament ยึดให้ติดกันทําให้เคลื่อนไหวได้ กระดูกข้อมือแถวบน จะติดกับกระดูก Radius ส่วนปลายล่างจะติดกับกระดูกฝามือ เป็นข้อต่อ Carpometacarpal joint
 - แถวบน scaphoid, lunate, triquetrum, และ pisiform
 - แถวล่าง trapezium, trapezoid, capitates และ hamate

                2.5 กระดูกฝ่ ามือ (Metacarpus) เป็นกระดูกยาว มีข้างละ 5 ชิ้น ตอนกลางโค้ง ข้างหน้าหวํา ปลายบนติดกับกระดูกข้อมือแถวล่าง ปลายล่างติดกับกระดูกนิ้วมือแถวที่ 1

                2.6 กระดูกนิ้วมือ (Phalanges of the fingers) เป็นกระดูกยาว มีข้างละ 14 ชิ้น มีนิ้วละ 3 ชิ้น ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือมี 2 ชิ้น

กระดูกของขา (Bones of lower extremities)

 กระดูกขามีทั้งหมด 62 ชิ7น ข้างละ 31 ชิ้น ประกอบไปด้วย

 1. กระดูกที่ประกอบเป็นอุ้งเชิงกราน (Pelvic girdle) ประกอบด้วย
                1.1 กระดูกตะโพก (Hip bone or Innorminate bone) มี 2 ชิ้น มารวมติดต่อกันเป็นส่วนประกอบด้านหน้าและด้านข้าง เป็นกระดูกแบนใหญ่ (บางเล่มเป็นกระดูกรูปแปลก) กระดูกตะโพกแต่ละข้างประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ซึ่งแยกจากกันในวัยเด็ก และจะรวมกันเป็นชิ้นเดียวในวัยผู้ใหญ่ กระดูก 3 ชิ้นนี้ ได้แก่
                1) Ilium เป็นส่วนแบนใหญ่ที่ยื่นขึ้นมาข้างบนของตะโพกที่ริมหรือขอบตะโพกมีขอบหรือสัน เรียกว่า Crest of ilium or Iliac crest ซึ่งเป็นขอบข้างๆของบั้นเอว ที่ริมบนของขอบนี้มี 2 ปุ่มคือ ปุ่มหน้า (Anterior superior iliac spine) ใช้ในการวัดคว่ามกว้างของอุ้งเชิงกราน ปุมหลัง (Posterior superior iliac spine) ใช้ในการวัดส่วนกว้างด้านข้างของอุ้งเชิงกราน ส่วนล่างของ Ilium ที่ติดต่อกับ Ischium และ Pubis พื้นของในของ Ilium หวํา เรียก Iliac fossa ใต้ Iliac fossa มีขอบเป็นสันยาว เรียก Iliopectineal line or Brim of pelvis สันยาวนี้ใช้เป็นขอบเขตแบ่งอุ้งเชิงกราน
- ส่วนที่อยู่เหนือสัน กว้าง ผายออก เรียก อุ้งเชิงกรานไม่แท้ (False pelvis)
- ส่วนล่างอยู่ใต้สัน แคบ เรียก อุ้งเชิงกรานแท้ (True pelvis) และอุ้งเชิงกรานแท้ยังแบ่งออกเป็นช่องเข้า (Pelvic Inlet) ซึ่งอยู่ตรงกับสันยาว (Iliopectineal line) ส่วนช่องออก (Pelvic outlet) อยู่ข้างหลัง มีปลายกระดูกก้นกบ ข้างๆมีปุ่มของกระดูกนั่ง (Ischial tuberosities)
                2) Ischium เป็นส่วนล่างของกระดูกตะโพก เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของร่างกาย มีปุ่มกระดูกนั่ง เรียก Ischial tuberosities
                3) Pubis คือ ส่วนที่ข้างหนาของกระดูกตะโพก ตรงที่กระดูก Pubis ทั้ง 2 ข้างมาพบกันจะก่อให้เกิดขอบขึ้น คลําได้ง่าย ที่ขอบล่างของช่องท้องเหนืออวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เรียกหัวหน่าว และข้อต่อระหว่าง Pubis มาบรรจบกัน เรียก รอยต่อของกระดูกหัวหน่าว (Symphysis pubis)

 1.2 กระดูกก้น (Sacrum) แทรกอยู่ด้านหลัง ประกอบเป็นผนังด้านหลังของอุ้งเชิงกรานจึงทําให้กระดูกทั้งหมดติดต่อกันเป็นวงโดยรอบ Pelvic girdle นี้แข็งแรงแต่เคลื่อนไหวน้อย เพราะเป็นส่วนที่รับน้ำหนักของร่างกาย  
พื้นหลังกระดูก Hip bone มีบ่อกลมใหญ่เป็นบ่อลึกตรงกลางระหว่างกระดูกทั้ง 3 ชิ้น มาบรรจบกัน เรียก Acetabulum ในบ่อนี้จะมีหัวของกระดูกต้นขาสวมอยู่ประกอบเป็นข้อต่อตะโพก




ความแตกต่างของอุ้งเชิงกรานระหว่างชายและหญิง

 อุ้งเชิงกรานของผู้หญิงกว้างกว่าของผู้ชาย Pelvic brim จะมีลักษณะกลมในหญิงและเป็นรูปสามเหลี่ยมในชาย นอกจากนี้ Pubic arch ในผู้หญิงจะเป็นมุมป้านหรือมากกว่า 90 องศา ส่วนในผู้ชายจะเป็นมุมแหลม และกระดูกก้นกบเคลื่อนไหวได้มากกว่าในผู้ชาย ทั้งนี้เพื่อเตรียมสําหรับรองรับการมีครรภ์ และการคลอดบุตร

2. กระดูกที่ประกอบเป็นขา ประกอบด้วย

 2.1 กระดูกต้นขา (Femur) มี 2 ชิ้น เป็นกระดูกที่ยาวที่สุดในร่างกาย ปลายด้านบนเรียก Head ต่อเข้าในเบ้า Accetabulum ถัดลงมาเรียกว่า Neck ลงมามีปุ่ม 2 ปุ่ม เรียกว่า Greater trochanter(ด้านนอก) และ Lesser trochanter(ด้านใน) ถัดลงมาคือ body (shaft) ซึ่งโก่งไปทางด้านหน้า ที่ผิวด้านหลังของมีสันนูนขรุขระ สิ้นสุดโดยปุ่มผิวเรียบ 2 ปุ่ม ปุ่มด้านในเรียกว่า Medial condyle ปุ่มด้านนอกเรียกว่าLateral condyle ต่อกับปลายบนของกระดูก Tibia เป็นข้อต่อหัวเข่า (Knee joint)

2.2 กระดูกสะบ้า (Patella) มี 2 ชิ้น เป็นกระดูกแบนรูปสามเหลี่ยมที่ด้านหน้าหัวเข่า ปลายแหลมจะชี้ลงข้างล่าง กระดูกสะบ้ามี Ligament patella เกาะอยู่ที่ส่วนปลายยึดให้กระดูกนี้อยู่กับที่

 2.3 กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) มี 2 ชิ้น แข็งแรงอยู่บนปลายขาด้านใน ปลายบนใหญ่ติดกับกระดูกต้นขา ตอนกลางเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้งไปด้านนอกเล็กน้อย หักได้ง่าย ปลายล่างเล็กกว่าปลายบน ด้านในของปลายล่างมีปุ่มยืนออกไป ประกอบเป็นตาตุ่มใน (Medialmalleolus) ด้านนอกของปลายล่างมีรอยติดต่อกับปลายของกระดูกน่อง (Fibula) และที่พื้นล่างมีรอยติดต่อกับกระดูกข้อเท้า

 2.4 กระดูกน่อง (Fibula) มี 2 ชิ้น เป็นกระดูกยาวเรียวเล็กกว่ากระดูกหน้าแข้ง อยู่ด้านนอกของปลายขา ขนานกับกระดูกหน้าแข้ง ปลายบนมีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมโต ด้านในติดต่อกับกระดูกหน้าแข้ง ตอนกลางเรียว หักง่าย ส่วนปลายล่างเป็นแง่แหลม ประกอบเป็นตาตุ่มด้านนอก เรียกว่า Lateral malleolus กระดูกส่วนปลายติดต่อกับกระดูกข้อเท้า

 2.5 กระดูกข้อเท้า (Tarsus) เป็นกระดูกสั้น มีทั้งหมด 14 ชิ้น ข้างละ 7 ชิ้น โดยมีเอ็นหลายเส้นยึดไว้ กระดูกข้อเท้าโตกว่ากระดูกข้อมือ มีรูปแปลกๆ กระดูกข้อเท้าที่ใหญ่ที่สุดและเป็นกระดูกชิ้นแรก เรียก Calcaneus ประกอบเป็นส้นเท้า (Heel bone) เป็นกระดูกที่แข็งแรงที่สุดเพราะรับน้ำหนักของร่างกาย

 2.6 กระดูกฝ่าเท้า (Metatarsus) มีทั้งหมด 10 ชิ้น ข้างละ 5 ชิ้น เป็นกระดูกยาวเรียงกันอยู่ ฝาเท้ามีรูปโค้งโดยมีกล้ามเนื้อและเอ็นยึดไว้ ส่วนโค้งเรียก Foot arch มี 2 ลักษณะคือ โค้งไปตามยาวจากส้นเท้าถึงปลายนิ้วเท้า อยู่ทางด้านในของเท้า เรียกว่า Longitudinal arch และโค้งขวาง เรียก Transverse arch ทำให้ข้อเท้ามี Spring ไม่กระเทือนและไม่เจ็บมากเวลาเดินหรือวิ่ง ฝ่าเท้าแบนเรียกว่า Flat foot
2.7 กระดูกนิ้วเท้า (Phalanges of the toes) มีทั้งหมด 28 ชิ้น ข้างละ 14 ชิ้น เป็นกระดูกยาว แต่สั้นกว่ากระดูกนิ้วมือ มีนิ้วละ 3 ชิ้น ยกเว้นนิ้วหัวแม่เท้ามี 2 ชิ้น

ข้อต่อ (Joints or Articulation)
ตำแหน่งหรือจุดที่กระดูก 2 ชิ้น มาต่อหรือบรรจบกัน ประกอบเป็นโครงของร่างกายและช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหว
1. ข้อต่อเคลื่อนไหวไม่ได้เลย มีลักษณะเฉพาะ คือ กระดูก 2 ชิ้น หรือบางส่วนของกระดูกจะมารวมกันโดยมี Fibrous or Fibroelastic tissue หรือกระดูกอ่อน (Cartilage) แทรกอยู่ เช่นรอยต่อของกะโหลกศีรษะ (Suture)

2. ข้อต่อเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

2.1 Syndesmoses คือ ข้อต่อที่เชื่อมด้วย Fibrous connective tissue หรือ Ligament แทรกอยู่ เช่น ข้อต่อที่ปลายของกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และกระดูกน่อง (Fibula) เรียกว่า Tibiofibular joint
2.2 Symphysis คือ ข้อต่อโดยมี Cartilage แทรกอยู่ เช่น ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังเรียก Intervertebral disc รอยต่อของกระดูกหัวหน่าว (Symphysis pubis) และรอยต่อของกระดูกก้นกบกับกระดูกเชิงกราน (Sacroiliac joint)

3. ข้อต่อเคลื่อนไหวได้มาก ประกอบด้วยกระดูก 2 ชิ้น หัวท้ายของกระดูกมีกระดูกอ่อนเรียกว่า Articular cartilage มาหุ้มปิดอยู่ ลดแรงเสียดทานของกระดูกกับกระดูก และให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น
สามารถแบ่งออกได้หลายแบบตามการเคลื่อนไหว
 3.1 ข้อต่อลื่นไถล (Gliding joints) ข้อต่อจะเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เคลื่อนที่แบบถูไปถูมา มีลักษณะแบน เช่น Vertebral process กระดูกนิ้วมือและนิ้วเท้า 
3.2 ข้อต่อแบบบานพับ (Hinge joint) เคลื่อนไหวได้รอบแกนในแนวระดับเพียงแกนเดียว ปลายกระดูกชิ้นหนึ่งจะเป็นแบบนูน อีกชิ้นจะเป็นแบบเว้า เช่น ข้อศอก (Elbow joint) เกิดจากปลายกระดูกต้นแขนต่อกับหัวกระดูกปลายแขนอันใน และ ข้อเข่า (Knee joint) เกิดจากปลายกระดูกต้นขากับหัวกระดูกหน้าแข้ง
 3.3 ข้อต่อแบบหมุน (Pivot joint) เคลื่อนไหวได้รอบแกนตั้งเพียงแกนเดียว เช่น  Atlanto – axial joint เกิดจากกระดูก Atlas กับ Axis หมุนได้เพียงซ้ายกับขวาเท่านั้น และ Proximal radio – ulna joint เกิดจากกระดูก Ulna และกระดูก Radius
 3.4 ข้อต่อคอนไดลอยด์ (Condyloid joint or Double hinge joint) มีการเคลื่อนไหว 2 ทาง คือ ไปข้างหน้า-ข้างหลัง และไปข้างๆ ข้อต่อแบบนี้กระดูกชิ้นหนึ่งเป็นหัวกลม อีกชิ้นหนึ่งเป็นแอ่งตื้นๆ เช่น ข้อมือ (Wrist joint) เกิดจากกระดูกข้อมือกับกระดูกปลายแขนอันนอก ข้อต่อระหว่างกระดูกฝาและนิ้วมือ (Metacarpo – pharyngeal joint)
 3.5 ข้อต่อรูปอาน (Saddle joint) กระดูกชิ้นหนึ่งเป็นแอ่งเว้าลงไปแต่ไม่ลึก อีกชิ้นมีลักษณะเป็นหัวกลม (นูน) ได้แก่ Carpo – metacarpal of the thump เกิดจากกระดูกฝามือต่อกับกระดูกนิ้วหัวแม่มือชิ้นแรก
 3.6 ข้อต่อหมุนได้รอบ (Ball and socket joint) เกิดจากปลายข้างหนึ่งของกระดูกเป็นแอ่งเว้าลงไป อีกชิ้นหนึ่งเป็นหัวกลมซึ่งสวมอยู่ในแอ่งพอดี ทําให้เคลื่อนไหวได้ทุกทาง เช่น Hip joint (เกิดจากกระดูกต้นขาหัวกลมสวมอยู่ในแอ่งของกระดูกตะโพก) Shoulder joint (เกิดจากหัวของกระดูกต้นแขนสวมอยู่ในแอ่งของกระดูกสะบัก) ข้อต่อแบบนี้เป็นข้อต่อที่ต้องรับน้ำหนักมากที่สุด

องค์ประกอบที่ทำให้ข้อต่อติดกัน ไม่เคลื่อนออกจากกัน
1. มี Capsule และ Ligament ยึดไว้
2. มีแรงดึงของกล้ามเนื้อรอบๆข้อต่อ (Muscle tension)
3. อาศัยความดึงดูดระหว่างกระดูก 2 ชิ้น (Cohesion)
4. ความกดของอากาศข้างนอกรอบตัวเรา (Atmospheric pressure)
5. กระดูกต่อกระดูกช่วยติดกันเองโดยไปขัดกันเองในตัว (Interlocking of bones)

การเคลื่อนไหวของข้อต่อ เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อต่างๆที่มาสัมพันธ์กับข้อต่อ แบ่งออกเป็น
1. การงอ (Flexion) หรือการทำมุม เช่น ก้มศีรษะหรืองอข้อศอก
2. การเหยียดหรือการทำให้ตรง (Extension)
3. การกาง (Abduction) เป็นการกางออกไปทางข้างๆ เช่น การกางแขน
4. การหุบ (Adduction) เป็นการนำเข้ามาชิดหรือการหุบ เช่นหุบแขนเข้าหาลำตัว สำหรับนิ้วมือต้องใช้นิ้วกลางเป็นจุดกึ่งกลาง ส่วนนิ้วเท้าใช้นิ้วเท้าอันที่2 เป็นจุดกึ่งกลาง
5. การหมุนรอบแกนตามยาว (Rotation) หมุนไปบนแกนของมันโดยหมุนอยู่กับที่ เช่น การหมุนของกระดูกคอ
6. การหมุนแกว่ง (Circumduction) เป็นการหมุนไปรอบๆแกนหลายอันในเวลาเดียวกัน ซึ่งเกิดจากการกระทำร่วมกันขอข้อต่อ เช่น การหมุนแขนหรือขา
7. การคว่ำมือ (Pronation)
8. การหงายมือ (Supination)

ความผิดปกติของข้อต่อ (Joints disorder)
1. Dislocation หมายถึง ปลายกระดูกชิ้นหนึ่งเคลื่อนไปจากที่เดิม เช่น หัวกระดูกต้นแขนเคลื่อนจากแอ่งของกระดูกสะบัก
2. Bursitis หมายถึง การอักเสบของ Bursae (ถุงเล็กที่อยู่รอบๆข้อต่อ) เช่น ทีข้อเข่าทำให้ปวดและเดินไม่ถนัด
3. Ankylosis หมายถึง การทีข้อต่อกระดูกติดแน่น เคลื่อนไหวไม่ได้อีกต่อไป มักเกิดหลังการอักเสบ หรือการบาดเจ็บ
4. Arthritis หมายถึง การอักเสบของเนื้อเยื่อ บริเวณรอบๆข้อต่อ จะบวมและปวด จนทำให้ข้อต่อเกิดการผิดรูปได้

5. Sprain หมายถึงการแพลงหรือการบิดของข้อ และทำให้เอ็นแตกหรือฉีกขาดจะมีอาการปวดและบวมแดง

กระดูกแกนกลาง



กระดูกศีรษะ (Bone of the skull)

กระดูกกะโหลกศีรษะ (Cranium)มีลักษณะคล้ายลูกมะพร้าว ภายในบรรจุสมอง ประกอบด้วยกระดูก 8 ชิ้น ได้แก่
1. กระดูกหน้าผาก (Frontal bone) เป็นกระดูกแบน 1 ชิ้น มีลักษณะเป็นแผ่นแบนหนาอยู่ที่ส่วนหน้าของศีรษะ ประกอบเป็นหน้าผากและเป็นหลังคาของเบ้าตา ภายในกระดูกมีโพรงอากาศ 2 แห่งอยู่เหนือขอบตาเรียกว่า โพรงอากาศหน้าผาก (Frontal sinuses)






2. กระดูกข้างศีรษะ (Parietal bone) เป็นกระดูกแบน 2 ชิ้น มีลักษณะเป็นแผ่นแบบโค้งไปติดกับกระดูกหน้าผากทางด้านหน้า และด้านหลังติดกับกระดูกท้ายทอย ตรงกลางของกระดูกทั้ง 2 ชิ้นจะเชื่อมกันประกอบเป็นหลังคาของกะโหลกศีรษะ

3. กระดูกท้ายทอย (Occipital bone) เป็นกระดูกแบนชิ้น ใหญ่ 1 ชิ้น อยู่ทางด้านหลังของกะโหลกศีรษะ ประกอบเป็นฐานของกะโหลกศีรษะทางด้านหลังที่ส่วนล่างมีช่องใหญ่ เรียกว่า Foramen magnum ช่องใหญ่นี้เป็นทางผ่านของไขสันหลังซึ่งติดต่อกับสมอง และยังมีเส้นเลือดและเส้นประสาททอดผ่านด้วย

4. กระดูกขมับ (Temporal bone) เป็นกระดูกรูปแปลก เป็นแผ่นแบนบาง 2 ชิ้น ประกอบเป็นผนังด้านข้างของกะโหลกศีรษะ กระดูกขมับอันหนึ่ง แบ่งออกเป็น 4 ชิ้น
  • 4.1 Squamous portion เป็นส่วนที่บางหรือยื่นข้างบนบริเวณหลังใบหูหรือทัดดอกไม้
  • 4.2 Petrous portion เป็นส่วนที่แข็ง ลักษณะเป็นสามเหลี่ยมชี้เข้าไปข้างในทางด้านหน้ากระดูกขมับส่วนนี้มีอวัยวะเกี่ยวกับการได้ยินทั้ง 7 อยู่ภายใน
  • 4.3 Mastoid portion เป็นปุ่มกลมยื่นไปข้างหลังช่องหูและใบหูที่เรียกว่ากกหู (Mastoid process)
  • 4.4 Tympanic portion เป็นส่วนที่อยู่ใต้ Squamous portion และข้างหน้า Mastoid process ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของช่องหูติดกับหูส่วนใน

5. กระดูกรูปผีเสื้อ (Sphenoid bone) เป็นกระดูกรูปแปลก มีลักษณะคล้ายผีเสื้อประกอบด้วยส่วนลำตัว (Body) ปีกเล็กและปีกใหญ่ ประกอบกันเป็นพื้นฐานของกะโหลกศีรษะมีแอ่งตื้นอยู่ที่ส่วนลำตัว เรียกว่า Sella turcica ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งของต่อมใต้สมอง (Pituitary gland or Hypophysis)

6. กระดูกข้อจมูกหรือกระดูกใต้สันจมูก (Etmoid bone) เป็นกระดูกรูปแปลก แผ่นบางโปร่งพรุน ประกอบด้วยแผ่นตั้งฉากและแผ่นแนวนอนตามพื้นราบ และแผ่นด้านข้าง อีก 2 แผ่น แผ่นที่ตั้งฉากจะก่อให้เกิดเป็นส่วนหนึ่งของผนังกั้นช่องจมูก (Nasal septum) ส่วนที่ยื่นของแผ่นตามพื้นราบเป็นขอบเขตของหลังคาของโพรงจมูก มีรูเล็กๆให้ประสาทสัมผัสกลิ่น (Olfactory nerve) ผ่านเข้าไปในสมองกระดูกหน้า (Facial bones) เป็นกระดูกที่ประกอบเป็นโครงของใบหน้า มีทั้งหมด 14 ชิ้น

กระดูกหน้า มีหน้าที่ห่อหุ้มอวัยวะสัมผัสพิเศษได้แก่ ตา จมูก และหู นอกจากนี้กระดูกหน้ายังทำหน้าที่ห่อหุ้มช่องเปิดของระบบสำคัญของร่างกายได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร และระบบหายใจ กระดูกต่างๆ
ของกระดูกหน้า ได้แก่

1. กระดูกสันจมูก (Nasal bone) เป็นกระดูกแบบ 2 ชิ้น ประกอบกันเป็นสันจมูก ส่วนบนติดต่อกับกระดูกหน้าผาก และด้านข้างติดกับกระดูกขากรรไกรบน

2. กระดูกแบ่งกั้นโพรงจมูกส่วนล่าง (Vomer bone) เป็นกระดูกแบน 1 ชิ้น ประกอบกันเป็นสันจมูกข้างในกั้นช่องจมูกทั้ง 2 ข้าง

3. กระดูกข้างในจมูก (Inferior nasal concha) เป็นกระดูกรูปแปลก 2 ชิ้น มีลักษณะเป็นเกลียวอยู่ที่ผนังด้านข้างของช่องจมูก


4. กระดูกข้างถุงน้ำตา (Lacrimal bones) เป็นกระดูกแบนชิ้นเล็ก 2 ชิ้น ตั้งอยู่ที่โคนของจมูกใกล้ด้านในของเบ้าตา กระดูกนี้ช่วยทำเป็นร่อง (Groove) เพื่อเป็นที่ตั้งของถุงน้ำตา เป็นกระดูกที่บางมาก

5. กระดูกโหนกแก้ม (Zygomatic or Malar bone) เป็นกระดูกรูปแปลกมี 2 ชิ้น ประกอบกันเป็นส่วนนูนของแก้มด้านนอกและพื้นที่ของเบ้าตาด้วย ส่วนโค้งของกระดูกโหนกแก้มจะยื่นไปข้างหลังติดต่อกับ Zygomatic process ของกระดูกขมับ

6. กระดูกเพดาน (Palatine bone) เป็นกระดูกรูปแปลก 2 ชิ้น ส่วนบนประกอบเป็นผนังล่างของเบ้าตา ส่วนล่างกระดูกทั้ง 2 ชิ้นจะมาชิดติดกัน ประกอบเป็นเพดานปาก (Palate) ส่วนที่กระดูก 2 ชิ้นมาต่อกันนี้ทำให้เป็นพื้นของช่องจมูกด้วย


7. กระดูกขากรรไกรบน (Maxilla bone) เป็นกระดูกรูปแปลกมี 2 ชิ้น มาบรรจบกันข้างหน้าตรงกลางใต้ช่องจมูก อาจเรียกว่า Upper jaw กระดูกขากรรไกรบนมีโพรงอากาศใหญ่ เรียกว่าMaxillary sinuses ซึ่งเปิดสู่จมูก ที่ริมล่างของกระดูกนี้เป็นบ่อเล็กๆ สำหรับให้รากฟันฝังอยู่ เรียกว่าTooth socket or Alveolus และส่วนหน้าด้านในของกระดูกประกอบเป็นเพดานแข็งของปาก (Hard plate) ถ้ากระดูกขากรรไกรบนนี้ไม่ติดกันทั้ง 2 ข้างก่อนคลอด จะทำให้เกิดช่องโหว่ตรงกลาง เรียกว่า เพดานโหว่ (Cleft palate)


กระหม่อมเด็ก (Fontanelle)
กระหม่อมเด็กเป็นบริเวณทีกระดูกกะโหลกยังเชื่อต่อกันไม่สนิท มีเพียงแผ่นเนื้อเยื้อ ปิดกั้น
ระหว่างหนังศีรษะและสมอง กระหม่อมเด็กมีหลายตำแหน่งได้แก่
1. กระหม่อมหน้า (Anterior fontanelle) ปิดเชื่อมเป็น Suture เมือ. อายุประมาณ 2 ขวบ
2. กระหม่อมหลัง (Posterior fontanelle) ปิดเชื่อมเป็น Suture เมือ. อายุประมาณ 2 เดือน
3. กระหม่อมข้างด้านหน้า (Anterolateral fontanelle) และกระหม่อมข้างด้านหลัง
(Posterolateral fontanelle) ปิดเชื่อมเป็น Suture เมือ. อายุ 2 – 3 เดือน



รอยต่อของกะโหลกศีรษะ (Suture)
1. Sagittal suture เป็นรอยต่อตรงกลางศีรษะระหว่างกระดูกกระดูกข้างศีรษะ (Parietal
bones) ทั้ง 2 ชิ้น
2. Coronal suture เป็นรอยต่อข้างหน้าระหว่างกระดูกหน้าผาก (Frontal bone) และกระดูก
ข้างศีรษะ (Parietal bone)
3. Squamous suture เป็นรอยต่อด้านข้างระหว่างกระดูกข้างศีรษะ (Parietal bone) และ
กระดูกขมับ (Temporal bone)
4. Lomboidal suture เป็นรอยต่อระหว่างกระดูกท้ายทอย (Occipital bone) กับกระดูกข้าง
ศีรษะ (Parietal bone)


กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone)
ป็นกระดูกรูปแปลก มีรูปคล้ายเกือกม้า ตั้ง อยู่ทีโคนลิ้น7 ข้างหน้าของคอเหนือลูกกระเดือก
(Adam’s apple) กระดูกนี้ลอยอยู่เฉยๆไม่ได้ติดต่อกับกระดูกอื่นเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อลิ้น และ
กล้ามเนื้อมัดอื่นด้วย

กระดูกลำตัว (Axial skeletal)
ประกอบด้วยกระดูก 51 ชิน7 ได้แก่
1. กระดูกหน้าอก (Sternum or Breast bone) กระดูกหน้าอกเป็นกระดูกส่วนกลางทางด้าน
หน้าของทรวงอก เป็นที่ยึดเกาะของกระดูกอ่อนของซี่โครง (Costal cartilage) มีรูปร่างแบน แบ่งเป็น 3
ส่วนได้แก่ ส่วนบนเรียก Manubrium มีรอยต่อกับปลายกระดูกไหปลาร้า (Clavicle) และกระดูกซี่โครง
คู่ที่1 ส่วนกลางเรียก Body ระหว่าง Manubrium กับ Body มีรอยติดต่อกับกระดูกอ่อนของซี่โครงคู่ที่
2 และตรงรอยต่อระหว่าง Manubrium กับ Body ก่อให้เป็นมุมนูนขึ้นมา เรียก Sternum angle ซึ่งจะ
มองเห็นในคนที่มีรูปร่างผอม และส่วนล่างเรียก Xiphoid process หรือที่เรียกว่า ลิ้น ปี่ ปลายเรียว
แหลม
ส่วนต่างๆของกระดูกหน้าอกนี้ในเด็กยังเป็นกระดูกอ่อน และเมื่ออายุประมาณ 25 ปี จึงจะเป็น
กระดูกชิ้นเดียว
2.กระดูกซี่โครง (Ribs or Costal bones) เป็นกระดูกแบนและยาวโค้ง มี 12 คู่ หรือ 24 ซี่
แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้
2.1 ซี่โครงแท้ (True or Vertebrosternal ribs) เพราะมี Costal cartilage มาเชื่อมกับ
กระดูกหน้าอก ได้แก่ กระดูกซี่โครงคู่ที่1 – 7
2.2 ซี่โครงไม่แท้ (False or Vertebrocostal ribs) เพราะปลายหน้าไม่ได้ติดกับ
หน้าอกโดยตรง กระดูกซี่โครงคู่ที่8 – 10 มี Costal cartilage แล้วไปเกาะติดกับ Costal cartilage ของ
กระดูกซี่โครงคู่ที่7                                                                                                                                                  
2.3 ซี่โครงลอย (Floating ribs) กระดูกซี่โครงคู่ที่11 – 12 ปลายหน้าของกระดูก
ซี่โครงไม่มีกระดูกอ่อนและไม่ได้เชื่อมต่อกับกระดูกหน้าอก
ระหว่างกระดูกซี่โครงแต่ละซี่จะมีช่องว่างทัง7หมด 11 ช่อง เรียก Intercostal space มีไว้ให้
กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงยึดเกาะ


3. กระดูกสันหลัง (Vertebrae column) เป็นกระดูกรูปแปลก ประกอบกันเป็นแกนลำตัว มี 26
ชิ้น ในผู้ใหญ่ และ 33 ชิ้น ในเด็ก กระดูกสันหลังแต่ละชิ้น ต่อกันเป็นแนวยาว เรียกลำสันหลัง
(Vertebrae column) มีหน้าที่รองรับน้ำหนักร่างกาย และบรรจุไขสันหลัง (Spinal cord) หมอนรอง
กระดูกสันหลัง (Intervertebral disc) เป็นกระดูกอ่อนชนิด Fibrocartilage ที่คั่นและยึดระหว่างกระดูกสัน
หลังแต่ละชิ้น เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย
ลักษณะทั่วไปของกระดูกสันหลังประกอบด้วย
- ส่วนหน้าซึ่ง เป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า Body
- ส่วนหลังเป็นส่วนโค้ง เรียกว่า Vertebral arch ประกอบด้วย pedicle , laminae , transverse
processes และ spinous process (spine)
ส่วนของ Body และ Vertebral arch มาบรรจบกันเกิดเป็นช่องหรือรู เรียกว่า Vertebral
foramen เป็นช่องให้ไขสันหลังทอดผ่าน ส่วนด้านข้างจะมีช่องเล็กๆอีกข้างละอัน เรียก Transverse
foramen ซึ่งเป็นทางผ่านของหลอดเลือดแดง





กระดูกสันหลังแบ่งออกเป็นส่วนๆ คือ
3.1 กระดูกสันหลังตอนคอ (Cervical vertebrae) มี 7 ชิ้น
- กระดูกสันหลังตอนคอชิ้นที่1 เรียก Atlas มีลักษณะคล้ายวงแหวน ไม่ Body พื้น บนมี
รอยต่อกับ Condyle ของกระดูกท้ายทอย และพื้น ล่างมีรอยต่อกับกระดูกสันหลังตอนคอท่อนที .2
กระดูกชิน7 นี้ทำหน้าที่ก้มศีรษะและเงยไปข้างหลัง
- กระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่2 เรียก Axis พื้น บนของ Body มีเดือย เรียก Odontoid
process เดือยนี้จะสวมอยู่ในกระดูก Atlas ทำให้ศีรษะหมุนไปข้างๆได้ ส่วนพื้น ล่างมี Body ซึง. จะต่อกับ
กระดูกสันหลังท่อนที่3
3.2 กระดูกสันหลังตอนอก (Thoracic vertebrae) มี 12 ชิ้น ส่วน Body ใหญ่ และแข็งแรง มี
ส่วนที่ต่อกับส่วนหัวของกระดูกซี่โครงมี Transverse process หนา ใหญ่และแข็งแรง ไม่มีรู แต่ที่
ข้างหน้ามีรอยติดต่อกับ tubercle ของกระดูกซี่โครงยกเว้นคู่ที่ 11 – 12 เท่านั้น Spinous process ยาว
และชี้ลงข้างล่าง
3.3 กระดูกสันหลังตอนเอว (Lumbar vertebrae) มี 5 ชิ้นส่วน Body ของกระดูกสันหลัง
ตอนเอวจะใหญ่ และแข็งแรงกว่าส่วนอื่นทั้งหมด
3.4 กระดูกสันหลังตอนก้นกบ (Sacral vertebrae) ในเด็กมี 5 ชิ้น ส่วนผู้ใหญ่มี 1 ชิ้น
ลักษณะเป็นรูปแผ่นสามเหลี่ยม ส่วนล่างโค้งไปข้างหน้า ที่ด้านข้างมีรูเล็กๆหลายรูสำหรับให้เส้นประสาท
ทอดทะลุผ่าน กระดูกชิ้น นี้ประกอบเป็นผนังเบื้องหลังของอุ้งเชิงกราน
3.5 กระดูกปลายก้นกบ (Coccygeal vertebrae) เป็นกระดูก 4 ชิ้น เล็กๆในเด็ก แต่ในผู้ใหญ่
อาจรวมติดกันเป็นกระดูกแผ่นเดียว เป็นปลายสุดของกระดูกสันหลัง
โค้งกระดูกสันหลัง มีอยู่ 4 โค้งด้วยกัน คือ
- โค้งตอนคอ (Cervical curve) จะแอ่นไปทางด้านหน้า (Anterior curve)
- โค้งตอนอก (Thoracic curve) จะแอ่นไปทางด้านหลัง (Posterior curve)
- โค้งตอนเอว (Lumbar curve) จะแอ่นไปทางด้านหน้า (Anterior curve)
- โค้งตอนก้นกบ (Sacral curve) จะแอ่นไปทางด้านหน้า (Anterior curve)
การโค้งของกระดูกสันหลัง อาจผิดปกติไปได้ คือ ถ้ากระดูกสันหลังตอนอก โค้งไปทางด้านหลัง
มากกว่าปกติ เรียกว่า หลังโก่ง (Kyphosis or Humpback) ซึ่ง พบในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเป็นวัณโรคของ
กระดูก ถ้ากระดูกสันหลังตอนเอว แอ่นไปข้างหน้ามากกว่าปกติ เรียก Lordosis or Hollow back มักพบ
ในหญิงที่ตั้งครรภ์ แต่ถ้ากระดูกสันหลังโค้งไปข้างๆ (Lateral curvature) เรียก เอวคด (Scoliosis)


โดยมากมักโค้งไปข้างขวามากกว่าปกติ ในคนธรรมดาจะโค้งเล็กน้อย